วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมเรื่อง“ลูกแก้วแจ๋ว โดนใจ คลายเหน็บชา”


  

    อาการเหน็บชาเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจเกิดจากความเจ็บป่วย
การเสื่อมในระบบกล้ามเนื้อ การใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน
การเปลี่ยนอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมหรือแม้แต่ท่านั่ง ท่ายืน ที่พบเราได้บ่อยนั้นก็คือ
อาการปวดกล้ามเนื้อตามตัว ปวดมือ นิ้วล็อก เกร็งของกล้ามเนื้อ
ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเหน็บชาเช่นกัน การนวดมือ ร่างกาย
และเท้าอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตแล้ว
ยังส่งผลให้ลดอาการมือและเท้าชา และยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลายอีกด้วย
      ด้วยเหตุนี้นวัตกรรม“ลูกแก้วแจ๋ว โดนใจคลายเหน็บชา”ชิ้นนี้จึงได้เกิดขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อใช้นวดมือเท้าและตามตัวเพื่อบรรเทาอาการเหน็บชา 
      โดยมีวิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์คือตัด-เย็บเศษผ้าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใส่ลูกแก้วเรียงไว้ข้างในแล้วเย็บปิด
ใช้ยางยืดเย็บไว้สอดมือเพื่อความสะดวกในการใช้ เป็นวัสดุที่หาง่าย
ราคาถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่ว
ยและบุคคลทั่วไป ที่จะช่วยบรรเทาอาการเหน็บชาโดยไม่ต้องใช้ยา
สามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่ที่ต้องการและที่สำคัญคือประหยัดค่าใช้จ่าย
โดยมีการทดสอบประสิทธิภาพ “ลูกแก้วแจ๋ว โดนใจ คลายเห็บชา”
ทดลองใช้กับเจ้าหน้าที่และผู้มาใช้บริการ จำนวน 30 คน
พบว่าใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและราคาถูก มีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้จริง
ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หยิบใช้ได้ง่าย กระทัดรัด พกพาสะดวก มีความปลอดภัย

คงทนถาวร และมีความพึงพอใจกับงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ร้อยละ100


การทำถุงนวดมือและตัว
1.ลูกแก้ว จำนวน 40 ลูก










2.เศษผ้าเหลือจากการเย็บขนาด 25x25 เซนติเมตร









3.เข็มและด้ายสำหรับเย็บ












4.ยางยืด











การทำเบาะนวดเท้า 1ชิ้น














1.ลูกแก้ว
2.เศษผ้าเหลือจากการเย็บ ขนาด35x30เซนติเมตร
3.เข็มและด้ายสำหรับเย็บ

ขั้นตอนการทำ“ลูกแก้วแจ๋ว โดนใจ คลายเหน็บชา”

1.นำเศษผ้าขนาด25x25เซนติเมตรมาเย็บเป็นรูปสี่เหลี่ยม
โดยเปิดปากถุงด้านกว้างไว้หนึ่งด้านเพื่อใส่ลูกแก้ว
2.ใส่ลูกแก้วจำนวน40ลูกเข้าไปโดยเกลี่ยลูกแก้วให้เรียงกันเป็นแถวเรียงหนึ่งจนเ
ต็มถุงเย็บปิดปากถุงให้สนิท
3.ใช้ยางยืดขนาด10เซนติเมตรมาเย็บติดแนวตรงกลาง2ข้างของเบาะนวดมือเพื่อ
ให้เกิดความกระชับ ไม่หลุด
การทำเบาะนวดเท้า ใช้เศษผ้าขนาด35x30เซนติเมตร
เย็บเป็นถุงสี่เหลี่ยมใส่ลูกแก้ว แล้วปิดปากถุง

ประโยชน์ “ลูกแก้วแจ๋ว โดนใจ คลายเหน็บชา












1.ใช้นวดมือ เท้า และตามตัวเพื่อบรรเทาอาการเหน็บชา
2.นำของที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อสุขภาพ
3.ราคาประหยัด พกพาสะดวก นำมาใช้ได้ทันที
4.มีความคงทนถาวรปลอดภัยและไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ(ซักได้)
5.เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสุขภาพสำหรับผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป

รูปชิ้นงานนวัตกรรมและการใช้งาน



ชื่อผู้ทำนวัตกรรม นางสาวศิรินทร สามสี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสะเกษ


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561


กรุณาคลิกดูวีดีทัศน์ด้านล่างเพิ่มเติมค่ะ


  



    

ความรู้เบื้องต้นโรคเหน็บชา

                                       โรคเหน็บชา (Beriberi) หรือ โรคขาดวิตามินบี 1

         เป็นโรคที่พบได้บ่อยในท้องที่ชนบทบางแห่ง โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ภาคอีสานเป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุหลักมาจากการขาดวิตามินบี 1 (วิตามินบีหนึ่ง)ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เองต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริมโดยผู้ป่วยจะมีอาการทางคลินิกหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุและ     อวัยวะที่ได้รับผลกระทบซึ่งจะแบ่งออกได้เป็นโรคเหน็บชาในเด็กและโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่วิตามินบี 1 (Vitamin B1) หรือ ไทอะมีน (Thiamine)มีหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกตินอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาทถ้าร่างกายได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะทำให้เป็นโรคเหน็บชาได้ (วิตามินบี 1มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่มีพิษตกค้างถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปก็จะขับออกมาทันที)หมายเหตุ : โรคเหน็บชาที่กล่าวถึงในบทความนี้ ไม่ใช่ “อาการเหน็บชา”ที่เกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่พบเห็นโดยทั่วไป ซึ่งอาการชาแบบนี้จะไม่มีอันตรายมากและสามารถแก้ไขได้ด้วยการเลี่ยงหรือเปลี่ยนอิริยาบถที่ทำให้ เกิดอาการชาเหล่านั้น
อาการชา หมายถึงอาการที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถรับความรู้สึกได้อย่างครบถ้วน
หรือทำให้ความรู้สึกต่อการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะ เช่น
การชาต่อความรู้สึกเจ็บ ชาต่อความรู้สึกสัมผัส ชาต่อความร้อนความเย็น
หรือชาจนไม่รู้สึกอะไรเลย
อาการเหน็บ หมายถึงอาการเจ็บป่วยที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับอาการที่นั่งทับขาตนเองเป็นเวลานาน ๆ เช่น การนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน
ทำให้เท้าที่ถูกพับและถูกทับเป็นเวลานานเกิดอาการเจ็บปวดและชา
จนบางครั้งอาจอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้
ซึ่งทั้งสองอาการนี้อาจเกิดขึ้นแบบเดี่ยว ๆ เป็นอาการเหน็บหรืออาการชา
หรืออาจเกิดขึ้นร่วมกันเป็น “อาการเหน็บชา” ก็ได้ (ส่วนอาการ “ซู่” หรือ “ซู่ซ่า”
ที่ปรากฏเมื่อเวลาขนลุกนั้นไม่ถือว่าเป็นอาการเหน็บชา
นอกจากว่าจะมีอาการเหน็บชาเกิดขึ้นร่วมด้วย)
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า โรคเหน็บชาเป็นโรคที่พบได้ในคนที่ผอมแห้งแรงน้อย
แต่แท้จริงแล้วในคนทั่วไปก็ป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
เพราะพฤติกรรมการกินที่ขาดวิตามินบี 1 ทั้งจากการกินแต่ข้าว อาหารขยะต่าง ๆ
หรืออาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1

สาเหตุของโรคเหน็บชา

       โรคเหน็บชามักมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ
โดยเฉพาะในผู้ที่ชอบรับประทานข้าวที่ขัดสีจากโรงสีที่มีวิตามินบี 1 อยู่น้อย
มิหนำซ้ำยังซาวข้าวและหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ซึ่งจะทำให้สูญเสียวิตามินบี 1 ไปอีก
ส่วนอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูงอย่างเนื้อสัตว์หรือถั่วก็รับประทานน้อย
เกิดจากการกินอาหารที่มีสารทำลายหรือยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1
มากเกินไป เช่น ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ
ปลาน้ำจืดดิบ สีเสียด เป็นต้น
เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงต้องการวิตามินบี
1 สูงขึ้นด้วย เช่น ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กในช่วงวัยเจริญเติบโต
ผู้ใช้แรงงานหรือต้องทำงานหนัก (โดยเฉพาะกรรมกร ชาวนา) ผู้ป่วยที่มีไข้สูง
ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อ ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น
จากการเป็นโรคหรือการผ่าตัดเกี่ยวกับทางเดินอาหาร, การฟอกไต (Dialysis),
เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism), เป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางพันธุกรรม (Genetic
deficiencies) เป็นต้น
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา
-หญิงตั้งครรภ์
-หญิงที่มีลูกอ่อนที่ต้องให้นมลูก
-ทารกที่กินนมมารดาเพียงอย่างเดียว โดยที่มารดาขาดวิตามินบี 1
หรือเป็นโรคเหน็บชา (ทำให้น้ำนมไม่มีสารอาหารที่เพียงพอสำหรับทารก)
หรือทารกที่กินนมซึ่งไม่ได้มีส่วนผสมของวิตามินบี 1
-เด็กในวัยเจริญเติบโต
-คนวัยฉกรรจ์ร่างกายบึกบึนที่ต้องออกแรงหรือทำงานหนัก ๆ เช่น กรรมกร
ชาวนา นักกีฬา รวมถึงผู้ต้องขังในเรือนจำ
และชาวประมงที่ออกทะเลเป็นเวลานาน ๆ
-ผู้สูงอายุ
-ผู้ที่รับประทานอาหารพวกแป้งและน้ำตาลมาก แต่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี
1 น้อย
-ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1
หรืออาหารบางชนิดที่ผลิตเอนไซม์ยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 1
-ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง ซึ่งจะทำให้ตับไม่สามารถนำวิตามินบี 1
ไปใช้ประโยชน์ได้
-ผู้ที่เป็นโรคไต ต้องฟอกไตและต้องกินยาขับปัสสาวะในปริมาณมาก

-ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ทำให้ขาดความสามารถในการดูดซึมวิตามินบี 1 จากอาหาร
ซึ่งอาการอาจแสดงออกมาเมื่อตอนโตเป็นผู้ใหญ่ก็ได้
-ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดการดูดซึมของวิตามินบี 1
และเพิ่มการขับวิตามินบี 1 ออกจากร่างกาย
ทำให้ร่างกายดูดซึมและสะสมวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ
-ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เนื่องจากได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ
ร่วมกับการดูดซึมของลำไส้ไม่ดี และตับทำงานได้ไม่ดี (ตับแข็ง)
-ผู้ป่วยเรื้อรัง
-ผู้ป่วยที่มีไข้สูง เป็นโรคติดเชื้อ หรือมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
อาจทำให้เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
ร่างกายจึงต้องการวิตามินบี 1 สูงขึ้นด้วย

อาการของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชาในเด็ก (Infantile beriberi)
พบได้บ่อยในทารกที่มีอายุระหว่าง 2-6 เดือน
มักพบได้ในทารกที่กินนมมารดาและมารดากินอาหารที่ขาดวิตามินบี 1
หรืออดของแสลง ทั้ง ๆ ที่อาหารบางอย่างนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ
หรือมารดาเป็นโรคเหน็บชา
ทารกมักถูกนำมาพบแพทย์ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
เช่น ซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว
ร้องเสียงแหบหรือร้องไม่มีเสียง ในบางรายอาจมีอาการตากระตุก (Nystagmus)
หนังตาบนตก ชัก หรือหมดสติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง
โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ (Adult beriberi)
ในระยะเริ่มแรกหรือมีอาการขนาดอ่อน ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ รู้สึกชา ความจำเสื่อม
แต่เมื่อตรวจร่างกายแล้วจะไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น
ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า อาจมีอาการปวดแสบและเสียวแปลบ
ๆ ร่วมด้วย โดยมากจะเป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นตะคริว
ปวดเจ็บที่กล้ามเนื้อน่อง แขนขาไม่มีแรง และถ้าเป็นมาก ๆ
อาจมีอาการเป็นอัมพาตได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากโรคพิษสุราเรื้อรัง
ผู้ป่วยจะมีอาการตาเหล่ ตาเข เนื่องจากกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตาเป็นอัมพาต
มีอาการเดินเซ (Ataxia) และมีความผิดปกติทางจิต
ซึ่งอาจทำให้หมดสติจนเสียชีวิตได้ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่สามารถแบ่งออกเป็น 3
ประเภท ได้แก่

1.Dry beriberi (โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง)
ผู้ป่วยจะมีอาการชาแบบไม่บวม มักเป็นการชาตามปลายมือปลายเท้า
กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีกำลัง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง
ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ (มีผลต่อระบบประสาทนอกส่วนกลาง (Peripheral nervous system))
เหน็บชาเหน็บชาขาดวิตามินอะไร

2.Wet beriberi (โรคเหน็บชาชนิดเปียก)
ผู้ป่วยจะมีอาการบวมร่วมกับการชาปลายมือปลายเท้าแล้ว
มีน้ำคั่งในช่องท้องและช่องปอด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย
หัวใจโตและเต้นเร็ว หัวใจอาจวายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ผู้ป่วยจะเสียชีวิต (มีผลต่อระบบหัวใจ (Cardiovascular system) และระบบอื่นๆ
ของร่างกาย)
โรคเหน็บชาเกิดจากวิธีแก้เหน็บชา

3.Wernicke-Korsakoff syndrome
พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยผู้ป่วยจะมีอาการทางสมอง 3
อย่าง คือ การเคลื่อนไหวของลูกตาทำได้น้อยหรือไม่ได้เลย เดินเซ
และมีความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งพวกที่เป็นมากจะมีอาการทางจิตที่เรียกว่า
Korsakoff’s psychosis

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเหน็บชา

-เป็นโรคจิต (Psychosis)
-โคม่า (Coma)
-ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure)
-เสียชีวิต

การวินิจฉัยโรคเหน็บชา
-ในทารก อาจตรวจพบอาการหอบเหนื่อย ตัวเขียว ขาบวม หนังตาตก ตากระตุก
รีเฟล็กซ์ของข้อน้อยกว่าปกติหรือไม่มีเลย และอาจตรวจพบภาวะหัวใจวาย เช่น
ตับโต ชีพจรเต้นมากกว่า 130 ครั้งต่อนาที บวม
ใช้เครื่องฟังตรวจปอดแล้วมีเสียงกรอบแกรบ
-ในเด็กโตและผู้ใหญ่ อาจตรวจพบอาการแขนขาชา ไม่มีแรง
(ทดสอบโดยการให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ ซึ่งผู้ป่วยจะลุกขึ้นเองไม่ได้) หรือเป็นอัมพาต
สำหรับรีเฟล็กซ์ของข้อนั้นในระยะแรกจะไวกว่าปกติ แต่ในระยะหลัง ๆ
อาจน้อยกว่าปกติหรือไม่มีเลย
ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย เท้าบวม
นอนราบไม่ได้ ชีพจรเต้นเร็ว ตับโต ใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรบ
(Crepitaton) เป็นต้น

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

-แพทย์จะให้วิตามินบี 1 ในขนาด 10-20 มิลลิกรัม โดยการกินหรือฉีดให้วันละ 2-
3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ (ผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
ควรใช้ชนิดฉีดในขนาด 100 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วัน)
ต่อจากนั้นให้แบบกินในขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาอีกหลายสัปดาห์
(แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อดูว่าร่างกายตอบสนองต่อวิตามินบี 1
นั้นด้วยหรือไม่ต่อไป)
-ในรายที่สงสัยว่ามีภาวะหัวใจวาย แพทย์จะฉีดวิตามินบี 1 ให้ในขนาด 25-50
มิลลิกรัม และให้ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) ½ – 1 หลอด
และถ้าจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ แล้วให้วิตามินบี
1 และให้การรักษาแบบภาวะหัวใจวาย
-โรคนี้อาจพบได้ในผู้ใช้แรงงานหนักหรือชายฉกรรจ์ที่มีร่างกายบึกบึน
ที่รับประทานข้าวขาวอย่างเดียวในปริมาณมากแต่ไม่มีวิตามินบี 1
และรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย ก็สามารถทำให้เกิดภาวะพร่องวิตามินบี
1 ได้ ดังนั้นถ้าพบอาการที่ชวนสงสัยว่าเป็นโรคเหน็บชาในคนเหล่านี้
แพทย์จะให้การรักษาด้วยการกินวิตามินบี 1 ทันที
รวมถึงให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่
-ผู้ป่วยที่เป็นเหน็บชาแล้วไม่ทำการรักษามักจะเสียชีวิต
แต่ถ้าทำการรักษาอาการก็มักจะหายไปอย่างรวดเร็ว
หัวใจที่ถูกทำลายก็จะฟื้นกลับมาได้ อย่างไรก็ตาม
หากผู้ป่วยมีอาการหัวใจล้มเหลวอย่างเฉียบพลันแล้วก็ยากที่จะทำการรักษาได้
และเช่นเดียวกับระบบประสาทก็สามารถฟื้นฟูกลับสู่สภาพได้หากรีบรักษาแต่แรก
แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษาแต่แรก อาการบางอย่าง เช่น ความจำเสื่อม
ก็จะยังคงอยู่ต่อไป แม้จะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม

วิธีป้องกันโรคเหน็บชา

-ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย
โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง เช่น เนื้อหมูไม่ติดมัน ปลา ตับ ไต นม ไข่แดง
ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ จมูกข้าวสาลี รำข้าว เปลือกข้าว
โฮลเกรน เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วต่าง ๆ (เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วกรีนบีน
ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว) บริวเวอร์ยีสต์ ผัก หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด แตงโม น้ำส้ม เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีลูกอ่อนที่ต้องให้นมลูก
และผู้ที่ต้องทำงานหนัก ควรแน่ใจว่าตัวเองได้รับอาหารที่มีวิตามินบี 1
อย่างเพียงพอ (สำหรับผู้ใหญ่ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1-1.5
มิลลิกรัม และ 1.5-1.6 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร)
-ผู้ที่ชอบดื่มสุราควรเลิกหรือลดปริมาณให้น้อยลง ไม่ดื่มเป็นประจำ
เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับและสะสมวิตามินบี 1 อย่างเพียงพอ
-ควรรับประทานข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้องแทนข้าวขาวที่จัดสีจากโรงงาน
และควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำหรือซาวข้าวหลายครั้ง เพื่อให้ได้มีวิตามินบี 1 สูงสุด
(การซาวข้าวและหุงแบบเช็ดน้ำจะสูญเสียวิตามินบี 1 ไปประมาณ 50%
การแช่ข้าวเหนียวค้างคืน เทน้ำทิ้งแล้วนึ่งทำให้สูญเสียวิตามินบี 1 ไปประมาณ
60%, การหุงต้มเนื้อสัตว์จะทำให้สูญเสียวิตามินบี 1 ไปประมาณ 25-85%
ส่วนการต้มผักจะทำให้สูญเสียวิตามินบี 1 ได้สูงถึง 60%)
-ลดการรับประทานอาหารที่มีสารทำลายหรือยับยั้งการดูดซึมวิตามินบี 1 เช่น ชา
กาแฟ ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ
สีเสียด เป็นต้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทำควรทำให้สุกก่อน โดยเฉพาะปลาร้า
หรือให้ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงหรือหมากพลูในระหว่างมื้ออาหาร
อย่าเสพหลังอาหารทันที (พวกปลาและหอยบางชนิดจะมีเอนไซม์ที่เรียกว่า
Thiaminase โดยมีฤทธิ์ย่อยสลายวิตามินบี 1 ซึ่งการปรุงให้สุกจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ส่วนชา กาแฟ หมาก เมี่ยง พลู จะมีสาร Tannic acid และ Caffeic acid
ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1)
-สำหรับโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก คนชรา และเรือนจำหรือสถานกักกัน
ควรจัดหาข้าวกล้องให้รับประทาน ปรับรายการอาหารให้หลากหลาย สุก สด ใหม่
และครบถ้วนทั้ง 5 หมู่
-หากเกิดการระบาดของโรคควรแจ้งสำนักงานสาธารณสุขในการสอบสวนโรคและ
มีแผนการคัดกรองภาวะโภชนาการ



นวัตกรรมเรื่อง“ลูกแก้วแจ๋ว โดนใจ คลายเหน็บชา”        อาการเหน็บชาเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาจเกิดจากความเจ็บป่วย การเสื...